สำนักงานทนายความ ชาญยุทธ ยินดีต้อนรับ.

รับปรึกษากฎหมาย ดำเนินอรรถคดีทั่วราชอาณาจักร รับจดทะเบียนบริษัท รับทำนิติกรรมสัญญาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รับจัดการอสังหาริมทรัพย์ ( บ้าน, ที่ดิน, คอนโดมิเนียม ) รับทำพินัยกรรม รับจัดการมรดก ขอใบอนุญาตทำงาน รับจัดการเรื่องบัญชี, ภาษี, งบดุล Legal Advise Concultance Legal Proceeding within Kingdom of Thailand Company Registration Service Contract Drafting in Thai Foreign Languages Realty Management (House Land Condominium) Testament Will Heritage Execution Administration Work Permit Service Accounting Taxes Balance Sheet .

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประวันของประชาชน/แจ้งตาย



1. กรณีตายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ  
 เมื่อมีคนตายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ ผู้รักษาก่อนตายจะต้องออกหนังสือรับรองการตาย (ท.ร. ๔/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการแจ้งตาย โดยบุคคลที่มีหน้าที่ในการแจ้งการตายในกรณีนี้ ได้แก่
    1. หัวหน้าของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลนั้น ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าบ้าน แล้วแต่กรณี
      2. บุคคลที่เจ้าบ้านมอบหมายให้แจ้งการตายแทน
ระยะเวลาในการแจ้งตาย
          ต้องทำการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บุคคลนั้นตาย
สถานที่แจ้งการตาย
      ถ้าโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่มีคนตายนั้น ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งการตายที่งานทะเบียนของสำนักเทศบาลในท้องที่นั้นๆ
ถ้าโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่มีคนตายนั้น ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งการตายที่งานทะเบียนของ ณ ที่ว่าการอำเภอในเขตท้องที่นั้นๆ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
          1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตาย หรือของผู้ที่ได้รับมอบหมายการแจ้งนั้น
          2. บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)
          3. หนังสือรับรองการตาย (ท.ร. ๔/๑) ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ออกให้
          4. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่  (ถ้ามี)
กรณีคนตายนอกสถานพยาบาล
          1. กรณีคนตายในบ้าน เช่น บ้านของคนตายเอง บ้านของญาติพี่น้อง บ้านของเพื่อนบ้าน ในโรงงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ เป็นต้น บุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่
             1. เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนตาย
             2. ผู้พบศพ (กรณีไม่มีเจ้าบ้าน)
             3. บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งการตายแทน
          การแจ้งการตายกรณีนี้ จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาที่พบศพ โดยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
          - ถ้าบ้านที่คนตายอยู่ในเขตท้องที่ที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่มีคนตายหรือพบศพนั้น โดยผู้ใหญ่บ้านในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งประจำหมู่บ้านจะรับแจ้งการตาย  และออกหลักฐานรับแจ้งการตาย (ท.ร. ๔ ตอนหน้า) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เมื่อได้รับใบรับแจ้งการตายแล้ว เจ้าบ้านหรือ ผู้พบศพจะต้องนำหลักฐานดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน เพื่อขอให้ออกใบตายหรือใบมรณบัตร
          - ถ้าบ้านที่คนตายอยู่ในเขตท้องที่เทศบาล ให้ไปแจ้งการตายที่งานทะเบียน ของสำนักงานเขตเทศบาลที่มีคนตายหรือพบศพนั้น  กรณีนี้จะไม่มีหลักฐานใบรับแจ้งการตาย (ท.ร. ๔ ตอนหน้า)
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
          1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
          2. บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)
          3. ใบรับแจ้งการตาย (ท.ร. ๔ ตอนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี)
          4. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
          5. พยานบุคคลที่รู้เห็นการตาย หรือการพบศพ เช่น เพื่อนบ้าน

2.กรณีคนตายนอกบ้าน เช่น ตายที่ศาลพักผู้โดยสาร บนรถยนต์ ห้างนา ตามป่าเขา เป็นต้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องแจ้งการตาย ได้แก่
          1. บุคคลที่ไปพบผู้ตายในขณะที่เกิดเหตุ
          2. ผู้พบศพ
          การแจ้งการตายกรณีนี้ จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาที่พบศพ โดยวิธีแจ้งการตายและหลักฐานในการแจ้งนั้น ให้ใช้เช่นเดียวกันกับกรณีคนตายในบ้าน
การแจ้งการตายเกินกำหนดเวลา
          เมื่อมีคนตายแล้วไม่ได้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย เจ้าบ้านของบ้านหลังที่มีคนตาย หรือผู้พบศพ สามารถไปขอแจ้งการตายเกินกำหนดเวลาได้ โดยจะต้องเสียค่าปรับตามความผิดฐานไม่แจ้งการตายภายในกำหนดระยะตามกฎหมาย
การแจ้งตายกรณีพบศพโดยไม่ทราบว่าคนตายเป็นใคร
          ผู้พบศพจะต้องแจ้งการตายเช่นเดียวกับกรณีคนตายในบ้าน โดยเมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งการตายแล้ว จะต้องแจ้งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อทำการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าคนตายเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด เมื่อได้รับแจ้งความเห็นจากพนักงานสอบสวนแล้ว จึงจะออกใบตายหรือใบมรณบัตรได้

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประวันของประชาชน

                           
 การแจ้งเกิด
1. กรณีเด็กเกิดในโรงพยาบาล สถานีอนามัยหรือสถานพยาบาล
เด็กที่เกิดในโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลต่างๆ ผู้ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการแจ้งเกิด โดยผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็กนั้น ได้แก่
  1.
หัวหน้าของโรงพยาบาล สถานีอนามัยหรือสถานพยาบาลนั้น ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าบ้าน แล้วแต่กร
   2. บิดาของเด็กทีเกิด
  3. มารดาของเด็กที่เกิด
ระยะเวลาในการไปแจ้งเกิด
   ต้องไปทำการแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด
สถานที่แจ้งเกิด
   ถ้าโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิดนั้นตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งการเกิดที่งานทะเบียนในเขต  เทศบาลนั้น
 ถ้าโรงพยาบาล สถานีอนามัยตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ให้ไปแจ้งการเกิดที่สำนักงานทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นั้น
หลักฐานที่ต้องนำแสดงด้วย
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้งเกิด
2.
หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) ที่โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิดออกให้
 3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้าไปอยู่
กรณีเด็กเกิดนอกสถานพยาบาล
 1. กรณีเด็กเกิดในบ้าน เช่น บ้านของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง ฯลฯ บุคคลผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็ก คือ
            -
เจ้าบ้านของบ้านที่เด็กเกิดนั้น
            -
บิดาของเด็กที่เกิด
            -
มารดาของเด็กที่เกิดระยะเวลาในการแจ้งเกิด ภายใน 15 วันนับแต่เด็กเกิด โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้
            - ถ้าบ้านที่เด็กเกิด อยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่เด็กเกิด โดยผู้ใหญ่บ้านในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งประจำหมู่บ้านจะรับแจ้งการเกิด และออกหลักฐานใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้เป็นหลักฐาน เมื่อได้รับใบแจ้งการเกิดแล้ว เจ้าบ้าน บิดาหรือมารดาของเด็กที่เกิดแล้วแต่กรณี จะต้องนำหลักฐานดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้ออกใบเกิด หรือใบสูติบัตรได้  หรือหากผู้แจ้งสะดวกที่จะไปแจ้งการเกิดของเด็กที่งานทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยยังไม่ได้แจ้งการเกิดกับผู้ใหญ่บ้านก็สามารถแจ้งการเกิดได้เช่นกัน
             -
ถ้าบ้านที่เด็กเกิดอยู่ในเขตท้องที่เทศบาล ให้ผู้แจ้งไปแจ้งการเกิดของเด็กที่งานทะเบียนในเขตเทศบาลที่เด็กเกิดนั้น ซึ่งกรณีนี้จะไม่มีหลักฐานใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า)
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
          1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการเกิด
          2.
ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี)
          3.
สำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้าไป
          4.
พยานบุคคลที่รู้เห็นการเกิดของเด็ก เช่น หมอตำแย เพื่อนบ้าน เป็นต้น
2. กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน  
เช่น บนรถโดยสาร ที่ศาลาข้างทาง บนรถแท็กซี่ เป็นต้น ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็ก  คือ
          1.
บิดาของเด็กที่เกิด
          2.
มารดาของเด็กที่เกิด
         
การแจ้งการเกิดในกรณีนี้ จะต้องแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดเช่นกัน แต่ถ้าหากมีเหตุจำเป็น

อื่นๆ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งการเกิดได้ภายในกำหนด ก็สามารถขยายเวลาการแจ้งเกิดได้ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด โดยวิธีการแจ้งการเกิดและหลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่นั้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับกรณีเด็กเกิดในบ้าน
ข้อควรรู้         
        1. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) ที่โรงพยาบาลออกนั้น รวมทั้งใบรับแจ้งเกิด (ท.ร. ๑ ส่วนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้นั้น ไม่ใช่ใบเกิดหรือใบสูติบัตร
          2.
เด็กที่เกิดในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นบุตรของคนไทย หรือคนต่างด้าว สามารถจะไปแจ้งเกิดและมีสิทธิจะได้รับหลักฐานการเกิด ด้วยเช่นกัน
          3.
การรับแจ้งการเกิด และการออกใบสูติบัตร หรือใบเกิด ไม่ต้องเสียค่ะรรมเนียมแต่อย่างใด
          4.
การไม่ไปแจ้งเกิดของเด็กภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด เป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          5.
ในการแจ้งการเกิดของเด็ก จะต้องแจ้งชื่อเด็กไปในคราวเดียวกันด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จดบันทึกลงไปในใบสูติบัตร หรือใบเกิดนั้น
 การแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา
          กรณีที่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด เจ้าบ้านที่เด็กเกิด หรือบิดามารดาของเด็กสามารถไปแจ้งการเกิดเกินกำหนดได้ โดยอาจจะต้องเสียค่าปรับในความผิดฐานไม่แจ้งการเกิดภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สถานที่แจ้งเกิด
          - ถ้าเด็กเกิดในเขตท้องที่ของเทศบาล ก็ให้ไปแจ้งการเกิดที่งานทะเบียนในเขตเทศบาลนั้น
          -
ถ้าเด็กเกิดในนอกเขตเทศบาล ก็ให้ไปแจ้งการเกิดได้ที่งานทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่เด็กเกิดนั้น
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
          1. บัตรประจำตัวประชาชนของผุ้แจ้ง
          2.
บัตรประจำตัวของบิดามารดาของเด็กที่แจ้งเกิด (ถ้ามี)
          3.
สำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้าไปอยู่
          4.
พยานบุคคลที่รู้เห็นการเกิดของเด็ก เช่น หมอตำแย เพื่อนบ้าน เป็นต้น
          5.
เอกสารอื่นๆ เพื่อ ประกอบการพิจารณารับแจ้ง เช่น หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น
การแจ้งเกิดกรณีเด็กที่บิดามารดาทอดทิ้ง
          เมื่อมีผู้พบเห็นเด็กแรกเกิด หรือเด็กเล็กที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ถูกทอดทิ้ง ผู้ที่พบเห็นเด็กจะต้องแจ้งการพบเด็กนั้น พร้อมทั้งนำตัวเด็กไปส่งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ) เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์) เพื่อทำหลักฐานการรับตัวเด็ก และดำเนินการแจ้งการเกิดให้กับเด็กตามที่กฎหมายกำหนด
การแจ้งเกิดสำหรับเด็กที่เกิดต่างประเทศ
          บุตรของบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ สามารถไปแจ้งการเกิดได้ที่สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ได้